การนำ E-paper มาประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ

บทความนี้เราจะมาพูดถึงตัวอย่างการนำอุปกรณ์ที่เรียกว่า E-paper หรือ E-Label มาประยุกต์ใช้งานในอุตสาหกรรมด้านต่างๆ เพื่อให้เข้าภาพรวมของหลักการทำงานโดยทั่วไปของ E-paper ส่วนใหญ่ก็จะเป็นดังภาพด้านล่างดังต่อไปนี้

E-paper Tag แต่ละตัว โดยปกติแล้วจะเชื่อมต่อ รับ-ส่งข้อมูลได้แบบไร้สาย ซึ่งมีทั้งที่เป็น Bluetooth, Wireless 2.4 GHz, Lazer หรือ NFC ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตเลือกที่จะนำเทคโนโลยีไหนเข้ามาช่วยในการรับ-ส่งข้อมูลในผลิตภัณฑ์ของตัวเอง  โดยอาศัยพลังงานจากแบตเตอรี่แบบลิเทียมที่มีอัตราการคายประจุต่ำอย่างเช่นแบตเตอรี่ชนิดกระดุมเพื่อให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานในขณะที่ตัวอุปกรณ์เองนั้นกินพลังงานที่ค่อนข้างต่ำมากๆ และโดยส่วนใหญ่ตัว E-paper นั้นมีขนาดหน้าจอหลากหลายขนาดตั้งแต่หน้าจอขนาดเล็กเพียง 2 นิ้ว ไปจนถึงขนาดใหญ่เท่าหระดาษ A4 หรือใหญ่กว่านั้น การออกแบบชุดแบตเตอรี่ก็จะแตกต่างกันไปตามขนาดหน้าจอ (หน้าจอใหญ่ใช้พลังงานเยอะกว่าหน้าจอเล็ก) ดังนั้นขนาดของแบตเอรี่ก็จะแตกต่างกันไปโดยปกติจะออกแบบให้สามารถใช้งานอยู่ได้หลายปี (5-10 ปี)  ต่อไปคือการ รับ-ส่งข้อมูลจากอุปกรณ์อื่นไปยัง E-paper จะอาศัยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Gateway ในกรณีที่เราต้องเปลี่ยนแปลงข้อมูลบนจอของ (E-paper) Tags คราวละหลายๆตัว Gateway นี้จะทำหน้าที่เชื่อต่อ Internet เพื่อเชื่อมต่อกับฝั่ง Application เมื่อมีการสั่งงานจาก Application เช่นการเปลี่ยนแปลงข้อมูลราคา รูปภาพ ของ Tag ปลายทาง Gateway จะทำหน้าที่ส่งข้อมูลเหล่านั้นไปยังตัวอุปกรณ์ E-paper ปลายทางโดยมันสามารถจัดการข้อมูลได้คราวละมากๆ ทำให้การรับ-ส่งข้อมูลไปหา Tag เป็นพันๆตัวทำได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที และยังมีการเชื่อมต่อข้อมูลจากอุปกรณ์ E-paper ส่งไปยังฝั่ง Application เพื่อบอกข้อมูลสถานะของ Tag เหล่านั้น เช่น ความแรงในกาารรับสัญญาณ เปอร์เซ็นต์แบตเตอรี่ สถานะการทำงานอื่นๆ เป็นต้น ดังนั้น Gateway จึงทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่าง Application และ ตัว Tag ในการ รับ-ส่ง ข้อมูลคราวละมากๆ โดยมีรัศมีครอบคลุมพื้นที่กว่า 20-30 เมตร ในที่โล่งทำให้ Gateway 1 ตัว สามารถจัดการ Tag ที่สัญญาณส่งถึงได้หลายพันตัวพร้อมกัน ส่วนในฝั่ง Application นั้นจะถูกออกแบบมาเพื่อให้จัดการข้อมูลต่างๆบน Tag และยังบริหารจัดการใน่สวนอื่นๆเพิ่มเติมได้อีกด้วย

อีกคุณสมบัติหนึ่งอุปกรณ์ E-paper โดยทั่วไปก็คือมันสามารถที่จะทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ง่ายๆโยไม่ต้องอาศัยการเชื่อมต่อผ่าน Gateway ก็ได้ หมายความว่าหากเราต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบน E-paper อย่างง่ายๆ เราสามารถใช้อุปกรณ์อย่างเช่นมือถือไปเชื่อมต่อกับอุปกรณ์โดยตรงเพื่อสั่งงานมันได้ โดยจะใช้การรับส่งข้อมูลผ่าน Bluetooth หรือ NFC เป็นต้น เพียงแต่กรณีแบบนี้จะสามารถทำได้คราวละ 1 ต่อ 1 เท่านั้น

ต่อไปเรามาดูการนำ E-paper ไปประยุกต์ใช้กับการทำงานต่างๆในปัจจุบัน โดยจะขอเริ่มจาก Solution ง่ายๆ ไม่ซับซ้อนดังต่อไปนี้

1. การใช้งาน E-paper แทนป้ายประกาศในห้องสุขา

ด้วยการเปลี่ยนมาใช้ E-paper แทนป้ายแบบกระดาษที่ต้องการปรับเปลี่ยนข้อมูลอยู่เป็นประจำ จะทำให้การ update ข้อมูล ข่าวสาร ทำได้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพียงออกแบบป้ายประกาศผ่าน web application ตามความต้องการ จากนั้นเพียงนำมือถือมาแสกนที่ E-paper แต่ละตัว ก็สามารถ update ข้อมูลที่ออกแบบไว้ตามความต้องการได้ทันที ช่วยลดภาระงาน ลดระยะเวลา และที่สำคัญยังเป็นการลดการใช้กระดาษเป็น 0 เสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม

 

2. การใช้งาน E-paper ร่วมกับ Dynamic Check sheet เพื่อตรวจสอบเครื่องจักร

ด้วยการเปลี่ยนมาใช้ E-paper ร่วมกับ application สร้าง check sheet เช่น google sheet หรือ google form เราสามารถเปลี่ยนกระบวนการทำงานที่ยุ่งยาก เช่น การตรวจเช็คเครื่องจักร ค่าอุณหภูมิ หรือค่าแรงดันประจำวันที่แต่เดิมใช้วิธีจดลงบนกระดาษแล้วส่งต่อข้อมูลไปยังผู้รับผิดชอบว่าค่าที่ตรวจสอบนั้นผ่านหรือไม่ สามารถใช้งานเครื่องจักรนั้นต่อได้ หรือไม่ อย่างไร ขั้นตอนเหล่านี้อาจสร้างความยุ่งยากและก่อให้เกิดความล่าช้า และยังนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ได้ลำบาก เนื่องจากอยู่ในรูปแบบเอกสารกระดาษ แต่เมื่อนำ E-paper มาใช้แทนกระดาษ เราสามารถกำหนดให้หน้าจอแสดงผลต่างๆได้ตามต้องการ เช่น วันที่ เวลา สถานะ เมื่อมีการตรวจเช็คได้ทันที และยังแจ้งเตือนไปยังผู้รับผิดชอบได้ทันทีเช่นกัน เป็นการทำให้ผู้ที่อยู่หน้างานและผู้รับผิดชอบเห็นข้อมูลที่ถูกต้องตรงกันได้แบบ real-time

 

3. การใช้งาน E-label บนรถเข็น (merchandise cart) ในโรงงาน

ด้วยการเปลี่ยนมาใช้ E-label แทนป้ายแบบกระดาษแบบเดิมๆ ที่มีขั้นตอนยุ่งยาก ต้องปริ๊นท์เอกสาร อยู่ตลอดเวลา ตรวจเช็คข้อมูลก็ลำบาก แถมหลุดร่อนหล่นหายเป็นประจำ จะเปลี่ยนที ต้องเขียนหรือปริ๊นท์มาติดใหม่ การทำงานลักษณะนี้จะสะดวกยิ่งขึ้น ช่วยลดขั้นตอนและบุคลากร เพียงออกแบบป้ายประกาศผ่าน web application นำ E-label ไปติดตั้งที่รถเข็น เมื่อต้องการ update ข้อมูลที่ป้าย ก็เพียงนำมือถือมาแสกนที่ป้าย ก็จะสามารถ update ข้อมูลตามที่ออกแบบไว้ได้ทันที และหากใช้งานร่วมกับ gateway ก็จะสามารถสั่งงานผ่านจากส่วนกลางได้เลยพร้อมๆกันทันที ช่วยลดภาระงาน ลดระยะเวลา และที่สำคัญยังเป็นการลดการใช้กระดาษเป็น 0  เสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม

ที่ 2Cs เรามีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ E-paper สามารถเข้าไปชมรายละเอียดได้ ที่นี่

Scroll to Top